เกิดเหตุ รถชน ในรัฐ แอละบามา ประเทศสหรัฐอเมริกา 18 คัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตครั้งนี้ 10 ศพ คาดน่าจะเกิดจากสภาพพื้นถนนที่ลื่น เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน สำนักข่าว BBC รายงานว่าเกิดอุบัติเหตุรถชน 18 คัน บนทางด่วนรัฐแอละบามา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อช่วงเวลาประมาณ 14.30 น. ของวันเสาร์ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 10 ศพ ในจำนวนดังกล่าวมีเยาวชนรวมอยู่ด้วย 9 ศพ
โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจคาดเดาว่าอุบัติเหตุครั้งนี้น่าจะเกิดขึ้น
เนื่องจากสภาพพื้นถนนที่เปียก ซึ่งเป็นอิทธิพลของพายุที่เข้าถล่มรัฐแอละบามาอยู่ในขณะนี้ ก่อนที่จะทำให้รถเสียหลักและชนเข้ากับรถคันอื่น ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าในช่วงเกิดเหตุไม่มีฝนตกลงมาแต่อย่างใด
นอกจากนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจยังระบุอีกว่า ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บคนใดที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทั้งนี้ยังไม่มีการเปิดเผยถึงตัวเลขชัดเจน ขณะนี้ เจ้าหน้าที่คณะกรรมการความปลอดภัยการขนส่งแห่งชาติ จำนวน 10 คนได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบจากอุบัติเหตุในครั้งนี้
เกาหลีใต้ เตรียม ฉีดวัคซีนผสมยี่ห้อ ให้กับประชาชนกว่า 7 แสนคน หลังจากที่วัคซีนจากโครงการ COVAX จัดส่งล่าช้า
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน สำนักข่าว ชาแนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า ทางการเกาหลีใต้เตรียมฉีดวัคซีนแบบผสมยี่ห้อให้กับประชาชนราวๆ 760,000 คน หลังจากที่วัคซีนจากโครงการโคแวกซ์ (COVAX) เกิดปัญหาจัดส่งล่าช้า โดยประชาชนกลุ่มดังกล่าวจะได้รับวัคซีนไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์นา หลังจากที่พวกเขาได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกา
ซึ่งตามกำหนดการเดิมนั้นวัคซีนแอสตราเซเนกาจำนวน 8 แสนโดสจะมาถึงในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ แต่วัคซีนล็อตดังกล่าวจะเดินทางถึประเทศเกาหลีใต้ในช่วงเดือนกรกฎาคม นอกจากนี้ประเทศเกาหลีใต้ยังมีวัคซีนแอสตราเซเนกาไม่เพียงพอ เนื่องจากการจับจองวัคซีนที่มากกว่าที่ทางการได้คาดการเอาไว้
ทั้งนี้มีหลายประเทศ เช่น แคนาดา และ สเปนที่ได้อนุมัติการฉีดวัคซีนข้ามยี่ห้อแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีการตรวจพบว่าผูรับวัคซีนแอสตราเซเนกาเกิดอาการลิ่มเลือดอุดตัน
โดยในงานวิจัยของประเทศสเปนระบุว่า การฉีดวัคซีนโมเดอร์นา หรือ ไฟเซอร์ ให้กับประชาชนที่ได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกาแล้ว ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพป้องกันโควิดได้ดี
ขณะนี้ประชาชนในประเทศเกาหลีใต้ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อยหนึ่งเข็มเป็นจำนวนกว่าร้อยละ 27 จากจำนวนประชากร 52 ล้านคน ซึ่งทางการเกาหลีใต้ตั้งเป้าฉีดวัคซีนต้านโควิดให้ได้ร้อยละ 70 ในช่วงเดือนกันยายนนี้
ญี่ปุ่น เตรียมประกาศ ยกเลิกภาวะฉุกเฉิน ในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาร่วมๆเดือนก่อนการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนที่กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน สำนักข่าว BBC รายงานว่า ทางการญี่ปุ่นเตรียมยกเลิกมาตรการภาวะฉุกเฉินในกรุงโตเกียวและจังหวัดใกล้เคียงในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาห้าสัปดาห์ก่อนมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่กรุงโตเกียว
แม้ว่าญี่ปุ่นจะยกเลิกภาวะฉุกเฉิน แต่มาตรการป้องกันโควิดบางมาตรการจะยังคงบังคับใช้อยู่ในกรุงโตเกียว เช่น การจำกัดผู้ชมการแข่งขันกีฬาหรือการแสดง จนถึงวันที่ 11 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้
โดยการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนนี้ได้สร้างความกังวลให้กับประชาชนชาวญี่ปุ่นว่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ยอดผู้ป่วยโควิดใหม่เพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง ซึ่งนาย โยชิฮิเดะ สุงะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ออกมาแนะนำให้ประชาชนให้กำลังใจนักกีฬาด้วยการชมการแข่งขันที่บ้านผ่านทางโทรทัศน์
ขณะนี้ทางการญี่ปุ่นยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะมีการอนุญาตให้มีผู้ชมการแข่งขันโอลิมปิกในสนามหรือไม่ แต่ผู้ชมจากต่างชาติจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าชมการแข่งขัน มหกรรมโอลิมปิกฤดูร้อน มีกำหนดเริ่มขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ ขณะที่มหกรรมกีฬาพาราลิมปิกจะเริ่มขึ้นในวันที่ 24 สิงหาคม
เจ้าหน้าที่แพทย์ ติดโควิด แม้ ฉีดซิโนแวค ครบสองโดส
ประเทศอินโดนีเซีย เผชิญกับสถานการณ์ตึงเครียดต่อเนื่อง หลัง เจ้าหน้าที่แพทย์ ติดโควิด แม้ว่าจะได้รับการ ฉีดซิโนแวค ครบสองโดสแล้วก็ตาม
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานว่า เจ้าหน้าที่แพทย์ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองคุดุส ประเทศอินโดนีเซียมากกว่า 350 คน ป่วยเป็นโรคโควิด-19 และจำเป็นต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะได้รับวัคซีนครบสองโดสแล้วก็ตาม
โดยเจ้าหน้าที่แพทย์ได้รับวัคซีนตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา และจากการตรวจสอบพบว่าผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนซิโนแวค อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ และพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน
ขณะนี้เมืองคุดุสกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิดเชื้อสายเดลต้าที่ถูกพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย ซึ่งเชื่อว่าเป็นโควิดชนิดที่สามารถแพร่เชื้อได้กว่าโควิดชนิดอื่นๆและ เป็นเหตุยอดผู้ป่วยนอนเตียงเพิ่มขึ้นร้อยกว่าร้อยละ 90
ด้าน บริษัทซิโนแวค ยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นถึงการแพร่ระบาดในครั้งนี้
โดยในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้อนุมัติใช้วัคซีนซิโนแวคเป็นการฉุกเฉินแล้ว ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกระบุว่าวัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิดร้อยละ 51
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง